WELCOME TO MY BLOGGER

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย


ชื่องานวิจัย   ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่ีมีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ของ  ยุพาภรณ์ ชูสาย

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย
     ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้องเรียน จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2.ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ ได้แก่
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการหามิติสัมพันธ์
-ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ได้ใช้เวลาทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ในช่วงเวลา 09.00-09.40 น. โดยใช้การทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ รวมเวลาที่ใช้ในการทดลองทั้งสิ้น จำนวน 24 ครั้ง

สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าการทดลอง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้องเรียน จำนวน 180 คน

2.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ หมายถึง วิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้เรื่องสีจากพืช ผัก และผลไม้มีอยู่รอบตัวเด็กหรือในชุมชน เลือกกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ

3.ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสดงความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้านสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบและการลงความเห็นจากข้อมูล โดยประเมินจากแบบทดสอบพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามความหมาย ดังนี้
3.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกถึงความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 
3.2 ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งพวก เรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้ความเหมือน ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3.3ทักษะการหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของวัตถุหรือบอกตำแหน่งวัตถุ ได้แก่ รูปร่าง รูปทรง ขนาด ระยะทาง ตำแหน่ง พื้นที่หรือสถานที่
3.4 ทักษะการลงความเห็นข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล ในการอธิบายหรือสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การสัมผัส โดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย (ทักษะการสังเกต)

สถานการณ์ : ให้เด็กดูอุปกรณ์การเขียน 3 ชนิด คือ ดินสอไม้ ดินสอสี และปากกา แล้วถามเด็กว่าอุปกรณ์การเขียนชิ้นไหนแตกต่างไปจากพวก
อุปกรณ์  ดินสอไม้ ดินสอสี และปากกาอย่างละ 1 ด้าม
คำตอบและการให้คะแนน
0 คะแนน เด็กตอบผิดหรือไม่ตอบ
1 คะแนน เด็กตอบถูกหรือชี้ถูก


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

หน่วย "การเกิดสีจากดอกไม้"

ชื่อกิจกรรม การขยี้,การขยำ

จุดประสงค์
1.ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-ทักษะการสังเกต  : ส่วนต่างๆ ของดอกไม้
-ทักษะการจำแนกประเภท  : แยกประเภทของดอกไม้
-ทักษะการลงความเห็นข้อมูล : สรุปผลการทดลองได้
-ทักษะการหามิติสัมพันธ์ ; บอกรูปร่าง รูปทรงและขนาดของดอกไม้ชนิดต่างๆ ได้
2.การส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
3.แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
4.เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ
ครูนำดอกไม้สีต่างๆ ใส่ตะกร้า(ดอกกุหลาบสีแดง,สีชมพู,ดอกดาวเรือง,ดอกอัญชัญ,ดอกชบาสีส้ม) มาให้เด็กดูและให้เด็กแต่ละคนหยิบดอกไม้คนละ 1 ดอก จากนั้นให้เด็กแยกกลุ่มตามสีของดอกไม้ที่ตนเองเลือก
ขั้นสอน
1.ให้เด็กนั่งตามกลุ่มตามสีและประเภทของดอกไม้
2.ครูถามเด็กแต่ละกลุ่ม ดังนี้
-เด็กๆ รู้จักดอกไม้ที่ตนเองเลือกหรือไม่
-ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร
-เด็กๆ ทดลองขยี้ดอกไม้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น เด็กอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
3.ครูแจกกระดาษ A4 ให้เด็กคนละ 1 แผ่น และให้เด็กทดลองนำกลีบของดอกไม้ มาขยี้แล้วนำไปทาบบนกระดาษ และให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นบนกระดาษ โดยครูกระตุ้นให้เด็กทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมและตอบคำถามร่วมกัน
4.เด็กและครูร่วมกันคิดว่า นอกจากการขยี้แล้ว เราจะทำอย่างไรให้ได้สีจากดอกไม้ได้อีกบ้าง ให้เด็กช่วยกันตอบ และให้ลองขยำ และทดลองตามที่เด็กคิด
5.เมือเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มเก็บวัสดุอุปกรณ์เข้าที่ ทำความสะอาด
ขั้นสรุป
1.ครูให้เด็กออกมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนกระดาษของตนเองเกี่ยวกับสีที่ได้ให้เพื่อนๆ ฟัง
2.เด็กและครูได้สรุปสิ่งที่ทดลองและให้เด็กแต่ละคนกลับไปคิดหาวิธีใหม่ที่ทำให้ได้สีจากดอกไม้ โดยไม่ซ้ำวิธีการเดิม 

สื่อ/อุปกรณ์
1.กระดาษ A4                       2.ดอกกุหลาบสีแดง                       3.ดอกกุหลาบสีชมพู
4.ดอกอัญชัญ                       5. ดอกดาวเรือง                             6.ดอกชบาสีต่างๆ

การประเมินผล
1.ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในขั้นดำเนินกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
2.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
3.สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง


Week 16

September 30, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


เนื้อหาการเรียนรู้

-อาจารย์พูดเรื่องการทำบล็อกว่าพื้นหลังไม่ควรลายตาเกินไป ตัวหนังสือมีขนาดพอเหมาะกับบล็อก และความคืบหน้าของการทำบล็อก และการสรุปวิจัย อย่าให้ซ้ำกับของเพื่อน

-อาจารย์ได้สรุปทักษะกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

-อาจารย์ให้ทุกคนส่งของเล่นวิทยาศาสตร์และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ เพื่อจะนำไปจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์

กระบวนการขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ภาพการส่งสื่อเข้ามุมวิททยาศาสตร์



Week 15

September 23, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


กิจกรรม

-อาจารย์ให้กลุ่มที่เขียนแผนทำ cooking เรื่องแกงจืด จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเพื่อที่จะมาสอนวิธีการทำแกงจืดให้กับเพื่อน






























ภาพขั้นตอนการทำแกงจืด



ความรู้ที่ได้รับจากการทำ cooking



วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Week 14

September 16, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



เนื้อหาการเรียนรู้

**เรียนกับอาจารย์ตฤณ แจ่มถิน** วันนี้ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย

-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 และแจกกระดาษให้กลุ่มละ 4 แผ่น ให้เขียนแผนการจัดประสบการณ์การทำอาหาร










วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

September 15, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**เรียนชดเชยวันที่หยุดเรียนไปในวันที่ 9 กันยายน 2556**



กิจกรรม

-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ กลุ่มดิฉันนำเสนอ "เขาวงกต"

สมาชิกกลุ่มดิฉัน



วิธีการทำสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  "เขาวงกต"


ภาพสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ของเพื่อน

ภาพการนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ของเพื่อน





วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Week 13

September 9, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am




**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ แต่อาจารย์นัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 และได้มอบหมายงาน คือ ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์,การทดลองวิทยาศาสตร์และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ เตรียมตัวมานำเสนอในวันที่เรียนชดเชยให้เรียบร้อย**                    



Week 12

September 2, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am




กิจกรรม

-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์




ภาพการนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ของเพื่อน




Week 11

August 26, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**ไม่มีการเรี่ยนการสอน เนื่องจากอาจารย์จัดงานมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุราชการ**





มุทิตาจิต หมายถึง ความเป็นผู้มีใจชื่นชมยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี หรือได้รับความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในใจเอง โดยมิได้บังคับ แต่เกิดขึ้นเฉพาะจิตใจปราศจากความอิจฉาริษยา เกิดขึ้นเพราะเป็นผู้มีปกติยอมรับในผลสำเร็จหรือความดีของคนอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกเป็นคำเต็มว่า "มุทิตาจิต"

แด่...ครูผู้เกษียณ

ถึงเวลาคลาไคลวัยเกษียณ
ได้หมุนเวียนเปลี่ยนมาต้องลาพัก
แต่ใจจักอยู่ใกล้ไม่หน่ายหนี
ขอจงมีความสุขกายสุขใจ
ทั้งห่างไกลโรคภัยภยันตราย
ชีวิตภายภาคหน้าจงเจริญ
สิ่งที่ได้ล่วงเกินโปรดให้อภัย
ส่งใจถึงใจให้กันตลอดไป...


 


วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Week 10

August 19, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



เนื้อหาการเรียนรู้




กิจกรรม

-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ กลุ่มละ 3 คน แต่กลุ่มดิฉันมีสองคนคือ 
ดิฉัน นางสาวกรรจิรา สึกขุนทดและนางสาวนพมาศ  วันดี การทดลองของกลุ่มดิฉัน คือ การทดลองลาวา


การทดลองลาวา




หลักวิทยาศาสตร์

เมื่อเทน้ำและน้ำมันลงในขวดนั้น น้ำและน้ำมันจะแยกชั้นกัน เมื่อใส่ผงอะมิโนลงไป ผงอะมิโนจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนที่เป็นชั้นของน้ัำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะดันน้ำขึ้นมาเจอกับชั้นของน้ำมัน และสักพักหนึ่งแรงดันของน้ำก็หมดลง ทำให้น้ำไหลกลับไปอยู่ที่เดิม


การนำเสนอการทดลองลาวา


1.ครูนำอุปกรณ์การทดลองลาวาวางไว้บนโต๊ะ โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ครูเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้คำถาม ดังนี้ เด็กๆเห็นอะไรอยู่บนโต๊ะครูบ้าง เด็กๆเคยเห็นสิ่งของเหล่านี้ที่ไหน และเด็กๆคิดว่าจะนำสิ่งของไปทำอะไรได้บ้าง?




2.ครูเริ่มเข้าสู่การทดลอง ครูจะพาเด็กๆมาทำการทดลองนะคะ (แต่ไม่บอกเด็กว่าเป็นการทดลองอะไร) ให้เด็กคอยสังเกตด้วยตนเอง และเริ่มทำการทดลองขั้นตอนแรก เทน้ำลงไปในขวดพลาสติกใสประมาณเศษ 3 ส่วน 4 ของขวด (ครูเป็นผู้เทน้ำเองหรือขอตัวแทนเด็กออกมาเทน้ำ) และเทน้ำมันลงไปในขวด ครูถามเด็กว่าเห็นอะไรบ้างในขวด น้ำและน้ำมันมีลักษณะอย่างไร? ให้เด็กสังเกต


3.ครูชูสีผสมอาหาร ถามเด็กว่าเคยเห็นสีผสมอาหารไหม เห็นที่ไหนและสามารถนำสีผสมอาหารไปใช้ทำอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นครูเทสีผสมอาหารลงในขวด ให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำ


4.ครูชูซองอะมิโนขึ้นมา และถามเด็กว่าใครเคยเห็นบ้างคะ แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมว่า อะมิโนไว้ชงกับน้ำ รับประทานเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหารเวลาที่เรารู้สึกว่ารับประทานอาหารมากเกินไปหรือมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ


5.ครูเทผงอะมิโนลงในขวดน้ำ ให้เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นภายในขวด


6.เมื่อเทน้ำและน้ำมันลงในขวดนั้น น้ำและน้ำมันจะแยกชั้นกัน เมื่อใส่ผงอะมิโนลงไป ผงอะมิโนจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนที่เป็นชั้นของน้ัำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะดันน้ำขึ้นมาเจอกับชั้นของน้ำมัน และสักพักหนึ่งแรงดันของน้ำก็หมดลง ทำให้น้ำไหลกลับไปอยู่ที่เดิม (เหมือนกับการเกิดลาวาของภูเขาไฟ)







การทดลองของเพื่อน


วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

August 17, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**เรียนชดเชย**

-อาจารย์ให้แต่ละคนนำของเล่นของตนเองออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ดิฉันได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ "เรือใบไม่ล่ม"






เพื่อนๆ นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์





วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 9

August 12, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันหยุดวันที่ 12 สิงหาคม 2556 เป็นวันแม่แห่งชาติ**




วันแม่แห่งชาติ





ประวัติวันแม่ 


          แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป  



          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ  



          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

          
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 

          2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ   

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่ 

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่ 


Week 8

August 5, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค**


Week 7

July 29, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันใกล้สอบกลางภาค อาจารย์จึงให้นักศึกษาอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ**





ความรู้เพิ่มเติม

   ประโยชน์ของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของเด็กแล้วยังเกิดประโยชน์ต่อตัวครูอีกด้วย
        1.  ประโยชน์ต่อตัวเด็ก
ตัวครูผู้จัดมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์ การวางแผนการกิจกรรมตลอดจนวิธีการจัดกิจกรรมอย่างถูกต้องดีแล้ว ก็จะทำให้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์นี้มีประโยชน์ต่อตัวเด็กหลายประการ  เช่น 
1.1ช่วยสร้างความพร้อมในการเรียนอ่านและเขียนให้แก่เด็ก ทั้งนี้เพราะว่ากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ดังนั้นเด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของตัวอักษรได้ดี การที่เด็กสามารถจำแนกความแตกต่างของตัวอักษรได้ เด็กก็จะเรียนภาษาได้เร็วขึ้น
1.2 ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จกับในการเรียน การจัดประสบการณ์ทางวิทยาสตร์แบบไม่เป็นทางการได้เปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามที่ตนเองถนัด การที่เด็กได้เลือกทำกิจกรรมในสิ่งที่ตนเองสนใจ และมีความสามารถ เขาก็จะประสบกับความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง และต่อการเรียน
1.3        ช่วยพัฒนาทักษะในการศึกษาหาความรู้อย่างมีระบบ  การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เด็กจะต้องเรียนรู้กระบวนการในการค้นหาข้อมูลอย่างมีระบบ เมื่อเด็กเป็นคนที่คิดอย่างมีระบบ
1.4ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางขึ้น เด็กที่มีประสบการณ์ในทางวิทยาศาสตร์มามาก จะช่วยทำให้เขาได้เกิดมโนมติต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
1.5 ช่วยสนองตอบต่อความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้เปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระในการแสดงออก ในการใช้ความคิดหาเหตุผลในการเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ในการที่เปิดโอกาสเช่นนี้ทำให้เด็กพึงพอใจ นับว่าเป็นการตอบสนองตอบต่อความต้องการของเด็กได้มาก
1.6        ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น การให้เด็กปลูกต้นไม้ เด็กต้องใช้กล้ามเนื้อจับต้นไม้ ขุดดิน รดน้ำต้นไม้ อีกทั้งยังต้องเคลื่อนที่เดินไปมาอยู่มาก ดังนั้นถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ   ก็จะช่วยทำให้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
       2.  ประโยชน์ต่อตัวครู
            ครูส่วนมากมักจะคิดไปว่าเด็กที่คุยเก่งเป็นเด็กที่ฉลาด ซึ่งความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เด็กบางคนที่ฉลาดแต่ไม่ชอบพูดคุยก็มีจำนวนมาก  การที่ครูจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นี้ ครูสามารถจะมองเห็นได้ว่าเด็กที่นั่งเงียบ แต่มีความสามารถในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดีนั้น  มีมาก ทั้งนี้เพราะว่าเด็กประเภทนี้ชอบคิดและลงมือปฏิบัติตามลำพังของเขาเอง   ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นี้ช่วยให้ครูได้ค้นพบความสามารถของเด็กแต่ละคนได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยทำให้ครูสามารถจัดเตรียมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กได้ นับว่าเป็นการช่วยทำให้การทำงานของครูมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            นอกจากนี้การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นการช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและนักเรียนได้มากขึ้นด้วย


July 28, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**เรียนชดเชย**

กิจกรรม

-อาจารย์ให้เข้าอบรมการประดิษฐ์สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยากรบรรยายการทำสื่อ


นำเสนอผลงาน


ผลงานของกลุ่มดิฉัน






Week 6

July 22, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันเข้าพรรษา**


วันเข้าพรรษา



ประวัติวันเข้าพรรษา

 "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด 


     อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
          ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 

          ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร 

          ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 

          อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

Week 5

July 15, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



กิจกรรม

-อาจารย์ให้เพื่อนนำเสนอของเล่นต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

งานที่ได้รับมอบหมาย

-อาจารย์ให้ไปหาการทดลองวิทยาศาสตร์และของเล่นวิทยาศาสตร์เเละนำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

-อาจารย์นัดเรียนชดเชย ในวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556  เวลา 08.30 - 12.20 น.



ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ดิฉันได้นำเสนอ คือ ขลุ่ยหลอด

อุปกรณ์

1. หลอดดูด

2. แผ่นพลาสติกใส

3. เทปใส

4. กรรไกร

วิธีทำ

1. ตัดปลายหลอดดูดออกในแนวเฉียง

2. ตัดแผ่นพลาสติกใสให้เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ

3. ใช้เทปใสติดแผ่นพลาสติกที่ตัดไว้กับปลายหลอด

4. ตัดแผ่นพลาสติกส่วนที่เกินออกเล็กน้อย

5. ใช้ปากเป่าปลายหลอดที่ติดแผ่นพลาสติกใส


หลักการทางวิทยาศาสตร์

     ขลุ่ยจะมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างหลอดดูดกับแผ่นพลาสติกใส เวลาเป่าต้องเอาส่วนปลายของแผ่นพลาสติกใสเข้าไปในปาก เมื่อเป่าลมเข้าไป ปากเป่าจะสั่นแล้วทำให้อากาศในหลอดเกิดการสั่นสะเทือนจนทำให้เกิดเสียงผ่านออกไปทางปากขลุ่ย

Week 4

July 8, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


เนื้อหาการเรียนรู้

ดู VDO วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก เรื่อง อากาศ

     ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ รอบๆตัวเรามีอากาศ มนุษย์ใช้อากาศหายใจ ถึงแม้ว่าอากาศจะมองไม่เห็น แต่อากาศก็มีตัวตน อากาศไม่มีตัวตนหรือรูปร่างแต่จะแทรกอยู่ในทุกพื้นที่ อากาศมีน้ำหนัก

การทดลอง

การทดลองอากาศก็มีน้ำหนักนะ
 อุปกรณ์    -ตาชั่ง    -ลูกโป่ง 2 ลูก

วิธีทำ

1.เป่าลูกโป่งให้ใหญ่เท่ากัน แล้วจัดให้สมดุลกัน



2. เจาะลูกโป่งลูกใดลูกหนึ่ง

พบว่าตอนแรกลูกโป่งทั้งสองข้างมีน้ำหนักเท่ากัน เมื่อเจาะให้อากาศออก ลูกโป่งก็จะเทไปข้างใดข้างหนึ่ง น้ำหนักส่วนที่หายไปก็คืออากาศนั่นเอง

การทดลอง อากาศนั้นต้องการที่อยู่

อุปกรณ์    -แก้วน้ำใส 1 ใบ     -กระดาษทิชชู     -เทปใส    -อ่างน้ำ

วิธีทำ

1.ยึดกระดาษทิชชูให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส



2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรงๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้



จากผลการทดลองพบว่า เมื่อคลี่กระดาษทิชชูในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลยเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วน้ำมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วน้ำมีอากาศอยู่จริง


กิจกรรม

-อาจารย์ให้พับกระดาษ A4 ออกเป็น 8 ช่อง แล้วตัดออกมาเย็บเป็นเล่มเล็ก และวาดรูปภาพต่อเนื่อง 

-อาจารย์ให้แต่ละคนออกไปนำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์


ภาพต่อเนื่อง โดเรมอน


ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of vision)        



    หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr.John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่งประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฎขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ละภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้