WELCOME TO MY BLOGGER

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

August 17, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**เรียนชดเชย**

-อาจารย์ให้แต่ละคนนำของเล่นของตนเองออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ดิฉันได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ "เรือใบไม่ล่ม"






เพื่อนๆ นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์





วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 9

August 12, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันหยุดวันที่ 12 สิงหาคม 2556 เป็นวันแม่แห่งชาติ**




วันแม่แห่งชาติ





ประวัติวันแม่ 


          แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป  



          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ  



          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

          
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 

          2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ   

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่ 

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่ 


Week 8

August 5, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค**


Week 7

July 29, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันใกล้สอบกลางภาค อาจารย์จึงให้นักศึกษาอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ**





ความรู้เพิ่มเติม

   ประโยชน์ของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของเด็กแล้วยังเกิดประโยชน์ต่อตัวครูอีกด้วย
        1.  ประโยชน์ต่อตัวเด็ก
ตัวครูผู้จัดมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์ การวางแผนการกิจกรรมตลอดจนวิธีการจัดกิจกรรมอย่างถูกต้องดีแล้ว ก็จะทำให้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์นี้มีประโยชน์ต่อตัวเด็กหลายประการ  เช่น 
1.1ช่วยสร้างความพร้อมในการเรียนอ่านและเขียนให้แก่เด็ก ทั้งนี้เพราะว่ากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ดังนั้นเด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของตัวอักษรได้ดี การที่เด็กสามารถจำแนกความแตกต่างของตัวอักษรได้ เด็กก็จะเรียนภาษาได้เร็วขึ้น
1.2 ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จกับในการเรียน การจัดประสบการณ์ทางวิทยาสตร์แบบไม่เป็นทางการได้เปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามที่ตนเองถนัด การที่เด็กได้เลือกทำกิจกรรมในสิ่งที่ตนเองสนใจ และมีความสามารถ เขาก็จะประสบกับความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง และต่อการเรียน
1.3        ช่วยพัฒนาทักษะในการศึกษาหาความรู้อย่างมีระบบ  การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เด็กจะต้องเรียนรู้กระบวนการในการค้นหาข้อมูลอย่างมีระบบ เมื่อเด็กเป็นคนที่คิดอย่างมีระบบ
1.4ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางขึ้น เด็กที่มีประสบการณ์ในทางวิทยาศาสตร์มามาก จะช่วยทำให้เขาได้เกิดมโนมติต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
1.5 ช่วยสนองตอบต่อความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้เปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระในการแสดงออก ในการใช้ความคิดหาเหตุผลในการเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ในการที่เปิดโอกาสเช่นนี้ทำให้เด็กพึงพอใจ นับว่าเป็นการตอบสนองตอบต่อความต้องการของเด็กได้มาก
1.6        ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น การให้เด็กปลูกต้นไม้ เด็กต้องใช้กล้ามเนื้อจับต้นไม้ ขุดดิน รดน้ำต้นไม้ อีกทั้งยังต้องเคลื่อนที่เดินไปมาอยู่มาก ดังนั้นถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ   ก็จะช่วยทำให้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
       2.  ประโยชน์ต่อตัวครู
            ครูส่วนมากมักจะคิดไปว่าเด็กที่คุยเก่งเป็นเด็กที่ฉลาด ซึ่งความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เด็กบางคนที่ฉลาดแต่ไม่ชอบพูดคุยก็มีจำนวนมาก  การที่ครูจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นี้ ครูสามารถจะมองเห็นได้ว่าเด็กที่นั่งเงียบ แต่มีความสามารถในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดีนั้น  มีมาก ทั้งนี้เพราะว่าเด็กประเภทนี้ชอบคิดและลงมือปฏิบัติตามลำพังของเขาเอง   ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นี้ช่วยให้ครูได้ค้นพบความสามารถของเด็กแต่ละคนได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยทำให้ครูสามารถจัดเตรียมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กได้ นับว่าเป็นการช่วยทำให้การทำงานของครูมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            นอกจากนี้การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นการช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและนักเรียนได้มากขึ้นด้วย


July 28, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**เรียนชดเชย**

กิจกรรม

-อาจารย์ให้เข้าอบรมการประดิษฐ์สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยากรบรรยายการทำสื่อ


นำเสนอผลงาน


ผลงานของกลุ่มดิฉัน






Week 6

July 22, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



**ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันเข้าพรรษา**


วันเข้าพรรษา



ประวัติวันเข้าพรรษา

 "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด 


     อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
          ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 

          ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร 

          ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 

          อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

Week 5

July 15, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



กิจกรรม

-อาจารย์ให้เพื่อนนำเสนอของเล่นต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

งานที่ได้รับมอบหมาย

-อาจารย์ให้ไปหาการทดลองวิทยาศาสตร์และของเล่นวิทยาศาสตร์เเละนำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

-อาจารย์นัดเรียนชดเชย ในวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556  เวลา 08.30 - 12.20 น.



ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ดิฉันได้นำเสนอ คือ ขลุ่ยหลอด

อุปกรณ์

1. หลอดดูด

2. แผ่นพลาสติกใส

3. เทปใส

4. กรรไกร

วิธีทำ

1. ตัดปลายหลอดดูดออกในแนวเฉียง

2. ตัดแผ่นพลาสติกใสให้เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ

3. ใช้เทปใสติดแผ่นพลาสติกที่ตัดไว้กับปลายหลอด

4. ตัดแผ่นพลาสติกส่วนที่เกินออกเล็กน้อย

5. ใช้ปากเป่าปลายหลอดที่ติดแผ่นพลาสติกใส


หลักการทางวิทยาศาสตร์

     ขลุ่ยจะมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างหลอดดูดกับแผ่นพลาสติกใส เวลาเป่าต้องเอาส่วนปลายของแผ่นพลาสติกใสเข้าไปในปาก เมื่อเป่าลมเข้าไป ปากเป่าจะสั่นแล้วทำให้อากาศในหลอดเกิดการสั่นสะเทือนจนทำให้เกิดเสียงผ่านออกไปทางปากขลุ่ย

Week 4

July 8, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


เนื้อหาการเรียนรู้

ดู VDO วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก เรื่อง อากาศ

     ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ รอบๆตัวเรามีอากาศ มนุษย์ใช้อากาศหายใจ ถึงแม้ว่าอากาศจะมองไม่เห็น แต่อากาศก็มีตัวตน อากาศไม่มีตัวตนหรือรูปร่างแต่จะแทรกอยู่ในทุกพื้นที่ อากาศมีน้ำหนัก

การทดลอง

การทดลองอากาศก็มีน้ำหนักนะ
 อุปกรณ์    -ตาชั่ง    -ลูกโป่ง 2 ลูก

วิธีทำ

1.เป่าลูกโป่งให้ใหญ่เท่ากัน แล้วจัดให้สมดุลกัน



2. เจาะลูกโป่งลูกใดลูกหนึ่ง

พบว่าตอนแรกลูกโป่งทั้งสองข้างมีน้ำหนักเท่ากัน เมื่อเจาะให้อากาศออก ลูกโป่งก็จะเทไปข้างใดข้างหนึ่ง น้ำหนักส่วนที่หายไปก็คืออากาศนั่นเอง

การทดลอง อากาศนั้นต้องการที่อยู่

อุปกรณ์    -แก้วน้ำใส 1 ใบ     -กระดาษทิชชู     -เทปใส    -อ่างน้ำ

วิธีทำ

1.ยึดกระดาษทิชชูให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส



2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรงๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้



จากผลการทดลองพบว่า เมื่อคลี่กระดาษทิชชูในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลยเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วน้ำมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วน้ำมีอากาศอยู่จริง


กิจกรรม

-อาจารย์ให้พับกระดาษ A4 ออกเป็น 8 ช่อง แล้วตัดออกมาเย็บเป็นเล่มเล็ก และวาดรูปภาพต่อเนื่อง 

-อาจารย์ให้แต่ละคนออกไปนำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์


ภาพต่อเนื่อง โดเรมอน


ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of vision)        



    หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr.John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่งประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฎขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ละภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้





Week 3

July 1, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



เนื้อหาการเรียนรู้

-ทบทวนเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว




กิจกรรม

ดู VDO วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก ชุด ความลับของแสง

      แสงสว่างทำให้เรามองเห็น แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง มีความยาวสั้นมาก เคลื่อนที่ 300000 กม./ชม. การที่เรามองเห็นวัตถุ เพราะแสงส่องมากับวัตถุ แล้วแสงจะสะท้อนกับวัตถุมาที่ตาเรา ทำให้เรามองเห็น

การเดินทางของแสงจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอย่างเดียว

วัตถุที่แสงทะลุผ่านไปได้ มี 2 แบบ คือ -วัตถุโปร่งแสง แสงจะทุได้แค่บางส่วน เช่น กระจกฝ้า
                                                             -วัตถุโปร่งใส แสงผ่านได้ทั้งหมด เช่น กระจกใส
วัตถุทึบแสง เช่น เหล็ก ไม้ หิน เป็นต้น


ประโยชน์ของแสง


 แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งไม่ต้องการที่อยู่ ไม่มีน้ำหนัก แต่สามารถทำงานได้  ในแสงอาทิตย์ มีคลื่นรังสีหลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น  ประโยชน์ที่เราได้รับจากแสงอาทิตย์มีอยู่  2  ส่วนคือ  ความร้อน และแสงสว่าง ในชีวิตประจำวัน เราได้รับประโยชน์จากความร้อน และแสงสว่างของดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แสงอาทิตย์ทำให้โลกสว่าง เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก อาชีพหลายอาชีพต้องใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์โดยตรง แม้ตอนที่ดวงอาทิตย์ตกดิน เราก็ยังได้รับความอบอุ่นจากแสงอาทิตย์ที่พื้นโลกดูดซับไว้ ทำให้เราไม่หนาวตาย  ประโยชน์ของแสงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ทาง คือ ประโยชน์ทางตรง และประโยชน์ทางอ้อม



1. ประโยชน์จากแสงทางตรง   เช่น  การทำนาเกลือ  การทำอาหารตากแห้ง  การตากผ้า  การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม ต้องอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์  การแสดงหนังตะลุง และภาพยนตร์ ต้องใช้แสงเพื่อทำให้เกิดเงาบนจอ  การมองเห็นก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงทางตรง

2. ประโยชน์จากแสงทางอ้อม   เช่น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ  (การเกิดฝน)  พืชและสัตว์ที่เรารับประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์  

การสะท้อนของแสง

     เมื่อมีลำแสงกระทบผิววัตถุจะทำให้เกิดปรากฏการณ์สะท้อนของแสง การสะท้อนของแสงเป็นไปตามกฎการสะท้อน



การหักเหของแสง


     การหักเหของแสง เกิดจากที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เป็นผลทำให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในขณะที่แสงเกิดการหักเหก็จะเกิดการสะท้อนของแสงขึ้น พร้อมๆกันด้วย



การเกิดเงา

     เมื่อแสงกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุได้ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทางเดินของแสงทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น

เงา คือ บริเวณมือของวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดินของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

1. เงามือ คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท

2. เงามัว คือ เงาในบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึงและทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท



งานที่ได้รับมอบหมาย

-อาจารย์ให้หาใบไม้ 1 ใบและทับไว้ให้แห้ง

-อาจารย์ให้คิดว่าจะประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์อะไร และเขียนร่างแบบมา