WELCOME TO MY BLOGGER

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย


ชื่องานวิจัย   ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่ีมีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ของ  ยุพาภรณ์ ชูสาย

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย
     ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้องเรียน จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2.ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ ได้แก่
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการหามิติสัมพันธ์
-ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ได้ใช้เวลาทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ในช่วงเวลา 09.00-09.40 น. โดยใช้การทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ รวมเวลาที่ใช้ในการทดลองทั้งสิ้น จำนวน 24 ครั้ง

สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าการทดลอง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้องเรียน จำนวน 180 คน

2.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ หมายถึง วิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้เรื่องสีจากพืช ผัก และผลไม้มีอยู่รอบตัวเด็กหรือในชุมชน เลือกกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ

3.ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสดงความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้านสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบและการลงความเห็นจากข้อมูล โดยประเมินจากแบบทดสอบพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามความหมาย ดังนี้
3.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกถึงความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 
3.2 ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งพวก เรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้ความเหมือน ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3.3ทักษะการหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของวัตถุหรือบอกตำแหน่งวัตถุ ได้แก่ รูปร่าง รูปทรง ขนาด ระยะทาง ตำแหน่ง พื้นที่หรือสถานที่
3.4 ทักษะการลงความเห็นข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล ในการอธิบายหรือสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การสัมผัส โดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย (ทักษะการสังเกต)

สถานการณ์ : ให้เด็กดูอุปกรณ์การเขียน 3 ชนิด คือ ดินสอไม้ ดินสอสี และปากกา แล้วถามเด็กว่าอุปกรณ์การเขียนชิ้นไหนแตกต่างไปจากพวก
อุปกรณ์  ดินสอไม้ ดินสอสี และปากกาอย่างละ 1 ด้าม
คำตอบและการให้คะแนน
0 คะแนน เด็กตอบผิดหรือไม่ตอบ
1 คะแนน เด็กตอบถูกหรือชี้ถูก


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

หน่วย "การเกิดสีจากดอกไม้"

ชื่อกิจกรรม การขยี้,การขยำ

จุดประสงค์
1.ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-ทักษะการสังเกต  : ส่วนต่างๆ ของดอกไม้
-ทักษะการจำแนกประเภท  : แยกประเภทของดอกไม้
-ทักษะการลงความเห็นข้อมูล : สรุปผลการทดลองได้
-ทักษะการหามิติสัมพันธ์ ; บอกรูปร่าง รูปทรงและขนาดของดอกไม้ชนิดต่างๆ ได้
2.การส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
3.แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
4.เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ
ครูนำดอกไม้สีต่างๆ ใส่ตะกร้า(ดอกกุหลาบสีแดง,สีชมพู,ดอกดาวเรือง,ดอกอัญชัญ,ดอกชบาสีส้ม) มาให้เด็กดูและให้เด็กแต่ละคนหยิบดอกไม้คนละ 1 ดอก จากนั้นให้เด็กแยกกลุ่มตามสีของดอกไม้ที่ตนเองเลือก
ขั้นสอน
1.ให้เด็กนั่งตามกลุ่มตามสีและประเภทของดอกไม้
2.ครูถามเด็กแต่ละกลุ่ม ดังนี้
-เด็กๆ รู้จักดอกไม้ที่ตนเองเลือกหรือไม่
-ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร
-เด็กๆ ทดลองขยี้ดอกไม้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น เด็กอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
3.ครูแจกกระดาษ A4 ให้เด็กคนละ 1 แผ่น และให้เด็กทดลองนำกลีบของดอกไม้ มาขยี้แล้วนำไปทาบบนกระดาษ และให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นบนกระดาษ โดยครูกระตุ้นให้เด็กทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมและตอบคำถามร่วมกัน
4.เด็กและครูร่วมกันคิดว่า นอกจากการขยี้แล้ว เราจะทำอย่างไรให้ได้สีจากดอกไม้ได้อีกบ้าง ให้เด็กช่วยกันตอบ และให้ลองขยำ และทดลองตามที่เด็กคิด
5.เมือเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มเก็บวัสดุอุปกรณ์เข้าที่ ทำความสะอาด
ขั้นสรุป
1.ครูให้เด็กออกมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนกระดาษของตนเองเกี่ยวกับสีที่ได้ให้เพื่อนๆ ฟัง
2.เด็กและครูได้สรุปสิ่งที่ทดลองและให้เด็กแต่ละคนกลับไปคิดหาวิธีใหม่ที่ทำให้ได้สีจากดอกไม้ โดยไม่ซ้ำวิธีการเดิม 

สื่อ/อุปกรณ์
1.กระดาษ A4                       2.ดอกกุหลาบสีแดง                       3.ดอกกุหลาบสีชมพู
4.ดอกอัญชัญ                       5. ดอกดาวเรือง                             6.ดอกชบาสีต่างๆ

การประเมินผล
1.ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในขั้นดำเนินกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
2.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
3.สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง


Week 16

September 30, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


เนื้อหาการเรียนรู้

-อาจารย์พูดเรื่องการทำบล็อกว่าพื้นหลังไม่ควรลายตาเกินไป ตัวหนังสือมีขนาดพอเหมาะกับบล็อก และความคืบหน้าของการทำบล็อก และการสรุปวิจัย อย่าให้ซ้ำกับของเพื่อน

-อาจารย์ได้สรุปทักษะกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

-อาจารย์ให้ทุกคนส่งของเล่นวิทยาศาสตร์และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ เพื่อจะนำไปจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์

กระบวนการขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ภาพการส่งสื่อเข้ามุมวิททยาศาสตร์



Week 15

September 23, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


กิจกรรม

-อาจารย์ให้กลุ่มที่เขียนแผนทำ cooking เรื่องแกงจืด จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเพื่อที่จะมาสอนวิธีการทำแกงจืดให้กับเพื่อน






























ภาพขั้นตอนการทำแกงจืด



ความรู้ที่ได้รับจากการทำ cooking



วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Week 14

September 16, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am



เนื้อหาการเรียนรู้

**เรียนกับอาจารย์ตฤณ แจ่มถิน** วันนี้ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย

-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 และแจกกระดาษให้กลุ่มละ 4 แผ่น ให้เขียนแผนการจัดประสบการณ์การทำอาหาร










วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

September 15, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


**เรียนชดเชยวันที่หยุดเรียนไปในวันที่ 9 กันยายน 2556**



กิจกรรม

-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ กลุ่มดิฉันนำเสนอ "เขาวงกต"

สมาชิกกลุ่มดิฉัน



วิธีการทำสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  "เขาวงกต"


ภาพสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ของเพื่อน

ภาพการนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ของเพื่อน





วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Week 13

September 9, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am




**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ แต่อาจารย์นัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 และได้มอบหมายงาน คือ ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์,การทดลองวิทยาศาสตร์และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ เตรียมตัวมานำเสนอในวันที่เรียนชดเชยให้เรียบร้อย**                    



Week 12

September 2, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am




กิจกรรม

-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์




ภาพการนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ของเพื่อน