WELCOME TO MY BLOGGER

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 2

June 24, 2556

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


เนื้อหาการเรียนรู้

1. ความหมายของวิทยาศาสตร์

    การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติโดยทั่วไป ประกอบด้วยตัวความรู้และกระบวนการที่ใช้ใน

การค้นหาความรู้อย่างมีระบบ เพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ 

2. ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

     วิทยาศาสตร์ สำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน

และอาชีพต่างๆ ตลอดจนการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ วิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเพิ่มขึ้น

 วิทยาศาสตร์ทำให้คนพัฒนาความคิด มีเหตุผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสังคม

แห่งความรู้ ที่คนจะได้พัฒนา เพื่อให้รู้และเข้าใจธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น วิทยาศาสตร์จะช่วย

พัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

 3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ

     ผลผลิต หมายถึง สิ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากที่ได้ทำการทดลอง หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทาง

วิทยาศาสตร์แล้ว

     กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิต จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ เพราะว่าเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องเฝ้าสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) และเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูก็จะต้องดูผลงานของเด็ก (ผลผลิต)

ตัวอย่างการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต ดังนี้

-การให้เด็กทำน้ำส้มคั้น ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการและผลผลิต กระบวนการก็คือวิธีการที่จะคั้นน้ำส้ม ส่วนผลผลิตก็คือ น้ำส้มคั้นที่คั้นเสร็จแล้ว 

4. แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

     เกรก (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ 5 ประการที่เรียกว่า Graig's Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1. การเปลี่ยนแปลง (Change)  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรให้เด็กและเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา สิ่งที่อยู่รอบตัว

2. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว

3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ 

4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturit) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย

5. ความสมดุล (Equitibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืนกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ

     แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ

วิธีการทางวิทยาศาสตร์


5. การเรียนรู้


-การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน

-การทำให้เด็กการคิด เพื่อให้เส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ 

อุปสรรคการเรียนรู้

                 ไม่ได้เรียนรู้                                                         เรียนรู้ผิด
(ใยประสาทและจุดเชื่อมโยงหายไป)             (ใยประสาทของวงจรการเรียนรู้ผิดหนาตัวขึ้น) 


6. พัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development)

  • ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ ในการคิดของแต่ละบุคคล
  •  พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม
  • เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก "ตน" (Self) เพราะตอนแรกเด็กจะยังไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
  • การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอด
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
1. กระบวนการดูดซึม (assimilation)
    เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของ สติปัญญา โดยจะเป็นการ ตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation) 
    การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา
กิจกรรม        
-จัดกลุ่มๆ ละ 6 คน ศึกษาหัวข้อดังกล่าว แล้วสรุปเป็นของตนเอง
-สรุปหัวข้อที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม คือ   หัวข้อ แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มไปศึกษาเพิ่มเติมจากกลุ่มอื่นๆ
-สรุป และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ
-ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ